วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ตัวอย่างการแก้ปัญหาที่จอดรถหน้าโรงเรียน

สืบเนื่องจากปีการศึกษา ๒๕๕๖ ที่ผ่านมา สถานีตำรวจนครบาลสามเสน ได้ขอความร่วมมือให้โรงเรียนงดการสอนเสริมพิเศษหลังเลิกเรียน เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดบนถนนสามเสนและพื้นที่ใกล้เคียง แต่ในปีการศึกษา ๒๕๕๗ นี้ ฝ่ายวิชาการจำเป็นต้องเปิดการสอนเสริมพิเศษในกลุ่มวิชาปฏิบัติ(กิจกรรมว่ายน้ำและดนตรีไทย) ตามความต้องการของนักเรียน ซึ่งมีจำนวนไม่มาก ดังนั้น เพื่อเป็นการให้ความร่วมมือในการบรรเทาปัญหาของชุมชน โรงเรียนใคร่ขอความร่วมมือจากท่าน จอดรถรอรับบุตรหลานในพื้นที่ใกล้เคียงของโรงเรียน และงดการจอดรถรอรับบุตรหลานบนถนนเขียวไข่กาตั้งแต่เวลา ๑๕.๓๐ น. เป็นต้นไป

ปัญหาการจอดรถหน้าโรงเรียน

จอดรถผิดกฏหมายหน้าโรงเรียน ก่อให้เกิดปัญหาการจราจรเป็นวงกว้างและอาจทำให้บุตรหลานเกิดอุบัติเหตุ โดยให้ตำรวจจราจรถ่ายภาพคนทำผิด ดำเนินคดีตามขั้นตอนของกฏหมาย และให้ส่งภาพผ่านทางโซเซี่ียลมีเดียทุกชนิด ไปยังครูอาจารย์ของโรงเรียนนั้นๆ ไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องอีกส่วนหนึ่ง เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาการจราจรและลดอุบัติเหตุ วันนี้เป็นวันที่สองจากการปิดถนนประมวญด้านถนนสาทร เพื่อให้รถเคลื่อนตัวด้านถนนสาทรได้อย่างต่อเนื่อง โดยให้ผู้ปกครองเคลื่อนรถเดินรถทางเดียวไปเข้าด้านถนนสีลมและส่งบุตรหลานที่ถนนประมวญ เพือมิให้เกิดปัญหาการหยุดรถที่บริเวณหน้าโรงเรียนด้านถนนสาทร และเกิดผลกระทบต่อการจราจรในวงกว้างไปถึงฝั่งธนบุรี ปรากฏว่าวันนี้ มีผู้ปกครองบางส่วน จอดรถส่งบุตรหลานในช่องทางเดินรถที่สามและที่สี่ ส่งเด็กลงกลางถนนเฉยเลย ทำให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัดต่อเนื่อง จากปัญหาดังกล่าว ได้สั่งการให้ตำรวจจราจรท้องที่ใช้กล้องถ่ายภาพรถที่ทำผิดกฏหมาย และออกหมายมาดำเนินคดี นอกจากนี้ ให้ส่งภาพรถทำผิดซึ่งเป็นรถของผู้ปกครองในโรงเรียนดังกล่าว ไปยังอาจารย์และผู้บริหารของโรงเรียน ผ่านทางระบบ โซเซี่ยลมีเดีย เพือดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องอีกทางหนึ่งด้วย "วินัยจราจรสะท้อนวินัยชาติไทย"

การจำกัดความเร็วในเขตโรงเรียนของประเทศอังกฤษ

เขตชุมชนในอังกฤษเป็นเขตจำกัดความเร็ว ซึ่งส่วนใหญ่จำกัดไว้ที่ 30 ไมล์ หรือประมาณ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นระดับความเร็วที่เหมาะสมสำหรับการขับขี่ในชุมชน แต่จากข้อมูลของ North West Public Health Observatory สรุปว่าในเขตพื้นที่รับผิดชอบมีเด็กถูกรถชนเสียชีวิตปีละประมาณ 140 ราย เป็นเหตุเรียกร้องให้รัฐบาลอังกฤษและรัฐบาลท้องถิ่นกำหนดระดับความเร็วในชุมชนเสียใหม่เป็น 20 ไมล์ หรือประมาณ 32 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยใช้การเก็บข้อมูลที่ยืนยันว่า เด็กที่ถูกรถชนด้วยความเร็ว 20 ไมล์ สามารถหายได้เป็นปกติในขณะที่เด็กที่ถูกรถชนด้วยความเร็ว 30 ไมล์ต่อชั่วโมงส่วนใหญ่เสียชีวิต ซึ่งข้อเรียกร้องนี้ตรงตามข้อเสนอแนะขององค์การอนามัยโลกในปี 2008 และเชื่อว่าการกำหนดความเร็วไว้ที่ระดับดังกล่าว จะช่วยรักษาชีวิตเด็กได้เป็นจำนวนมากทั่วทั้งอังกฤษ ความไม่ปลอดภัยของการขับรถด้วยความเร็วสูง เนื่องจากยิ่งขับเร็วเท่าไรระยะทางที่หยุดรถจะยาวขึ้น เช่น ความเร็วที่ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะใช้ระยะทางหยุดรถประมาณ 36 เมตร ถ้าความเร็วที่ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะใช้ระยะทางหยุดรถประมาณ 53 เมตร และหาผิวถนนเปียกจะใช้ระยะทางยาวเพิ่มขึ้นไปอีก นอกจากนี้แล้ว ความเร็วยังสัมพันธ์กับความรุนแรงของการบาดเจ็บและเสียชีวิต ตัวอย่าง เช่น รถยนต์ชนคนเดินเท้าที่ความเร็ว 48 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คนถูกชนมีโอกาสเสียชีวิต 20% แต่หากชนด้วยความเร็ว 64 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีโอกาสเสียชีวิต 90% นักวิจัยสวีเดนได้เสนอการกำหนดความเร็วโดยใช้หลักการทางการแพทย์ คิดจากแรงปะทะที่มนุษย์สามารถทนได้ (ใช้ความเร็วเท่าไรที่เมื่อชนแล้วไม่เสียชีวิต) ควบคู่กับแนวคิดทางวิศวกรรมจราจร กำหนดให้พื้นที่ที่มีคนเดินเท้าหรือถนนที่มีรถแต่ไม่มีการป้องกันคนเดินเท้า ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 30 กม/ชม. กฎหมายควบคุมความเร็วของไทยใช้ 2 ฉบับคือ พระราชบัญญัติจราจรทางบก และ พระราชบัญญัติทางหลวง โดย พรบ.จราจรทางบก ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2551 ซึ่งเป็นฉบับล่าสุด กำหนดรถยนต์ทั่วไปใช้ความเร็วไม่เกิน 80 กม./ชั่วโมง นอกเขตเมือง 90 กม./ชม. และการใช้ความเร็วบนทางหลวง ตาม พรบ.ทางหลวง พ.ศ. 2535 รถยนต์ทั่วไปขับได้ไม่เกิน 90 กม./ชม. และทางหลวงพิเศษ (เช่น กาญจนาภิเษก วงแหวนรอบนอก) ไม่เกิน 120 กม/ชม. เป็นต้น แต่ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามป้ายและเครื่องหมายจราจร ที่กำหนดความเร็วไว้ในแต่ละพื้นที่เฉพาะอีกด้วย เช่น เขตโรงเรียน เขตชุมชน ทางแยก เป็นต้น จากสถิติของสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะบ่งชี้ว่าการขับรถเร็วเกินกำหนดเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุจราจร แต่ตำรวจเองบังคับใช้กฎหมายได้ยาก เทคโนโลยีที่ตำรวจใช้เพื่อการตรวจจับความเร็วปัจจุบัน เช่น การใช้กล้องตรวจจับความเร็ว (Speed Camara) ซึ่งสามารถเรียกหยุดและลงโทษผู้กระทำผิดได้ทันที ลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุได้ แต่ด้วยวิธีนี้ต้องใช้กำลังเจ้าหน้าที่สูง งบประมาณที่ใช้จำนวนมาก นอกจากนี้ อาจใช้กล้องตรวจจับความเร็วอัตโนมัติ ซึ่งส่งข้อมูลการกระทำผิด ไปยังศูนย์และสามารถส่งหมายเรียกทางไปรษณีย์ไปโดยตรงถึงเจ้าของรถ/ผู้กระทำผิดได้ แต่ผู้กระทำผิดมักอ้างข้อสงสัยเรื่องมาตรฐานของเครื่องมือตรวจวัดความเร็วที่ใช้อยู่ นอกจากนี้แล้ว ค่าปรับที่เป็นจำนวนน้อยมาก (200-500 บาท ไม่เกิน 1,000 บาท) ไม่เพียงพอที่จะหยุดการกระทำผิด อังกฤษเชื่อว่าต้องสร้างให้เกิดความรับผิดชอบร่วมกันในการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรและร่วมป้องกันรักษาชีวิตเด็กในชุมชน ประเทศไทยก็ต้องทำเช่นกัน ข้อมูล www.bbc.co.uk/news/health-12481423 www.tarc.ait.ac.th www.roadsafetythai.org

กฎหมายที่เกี่ยวกับการขับรถในโรงเรียน

อัตราความเร็วของยานพาหนะตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก ฉบับ 8 พ.ศ. 2551 ในกรณีปกติให้กำหนดความเร็วของรถดังต่อไปนี้ 1.สำหรับรถบรรทุกที่มีน้ำหนักรถรวมทั้งน้ำหนักบรรทุกเกิน 1,200 กิโลกรัมหรือรถบรรทุกคนโดยสาร ให้ขับในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาลไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือนอกเขตดังกล่าวให้ขับไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 2.สำหรับรถยนต์อื่นนอกจากรถที่ระบุไว้ใน 1 ขณะที่ลากจูงรถพ่วงรถยนต์บรรทุกที่มีน้ำหนักรถรวมทั้งน้ำหนักบรรทุกเกิน 1,200 กิโลกรัม หรือรถยนต์สามล้อให้ขับในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาล ไม่เกิน 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือนอกเขตดังกล่าวให้ขับไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 3.สำหรับรถยนต์อื่นนอกจากรถที่ระบุไว้ใน 1 หรือ 2 หรือรถจักรยานยนต์ ให้ขับในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาล ไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือนอกเขตดังกล่าวให้ขับไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในเขตทางที่มีเครื่องหมายจราจรแสดงว่าเป็นเขตอันตรายหรือเขตให้ขับรถช้าๆ ให้ลดความเร็วลงและเพิ่มความระมัดระวังขึ้นตามสมควร ในกรณีที่มีเครื่องหมายจราจรกำหนดอัตราความเร็วต่ำกว่าที่กำหนดในข้างต้น ให้ขับไม่เกินอัตราความเร็วที่กำหนดไว้นั้น

การจอดรถในโรงเรียน

การจอดรถที่ผิดกฎหมาย 1. การหยุดรถหรือจอดรถในทางเดินรถ ผู้ขับขี่ต้องให้สัญญาณไฟ หรือ ด้วยมือและแขนก่อนที่จะหยุดหรือจอดรถในระยะไม่น้อยกว่า 30 เมตร และจะหยุดรถหรือจอดรถได้เมื่อผู้ขับขี่เห็นว่าปลอดภัย และไม่เป็น การ กีดขวางการจราจร 2. ผู้ขับขี่ต้องจอดรถทางด้านซ้ายของทางเดินรถ และจอดรถให้ชิดด้าน ซ้ายของรถขนานชิดของทาง หรือไหล่ทางในระยะห่างไม่เกิน 25 ซม. หรือจอดรถตามทิศทางหรือด้านหนึ่งด้านใดของทางเดินรถที่เจ้าพนักงาน จราจรกำหนดไว้ 3. แต่ในกรณีที่มีช่องทางเดินรถประจำทางอยู่ทางด้านซ้ายสุดของทางเดิน รถ ห้ามมิให้ผู้ขับขี่จอดรถในลักษณะดังกล่าวในเวลาที่กำหนด ให้ใช้ช่อง ทางเดินรถประจำทางนั้น 4. ห้ามมิให้ผู้ขับขี่หยุดรถ (1) ในช่องเดินรถ เว้นแต่หยุดชิดขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถ ใน กรณีที่ไม่มีช่องเดินรถ ประจำทาง (2) บนทางเท้า (3) บนสะพานหรือในอุโมงค์ (4) ในทางร่วมทางแยก 5. ในกรณีที่เครื่องยนต์หรืออุปกรณ์ของรถขัดข้อง จนต้องจอดรถใน ทางเดินรถ ผู้ขับขี่ต้องนำรถให้พ้นทางเดิน รถโดยเร็วที่สุด ในกรณีตาม วรรคหนึ่ง ถ้าจำเป็นต้องขอดรถอยู่ในทางเดินรถผู้ขับขี่ต้องจอดรถ ในลักษณะ ที่ไม่กีดขวาง การจราจร และต้องแสดงเครื่องหมาย หรือ สัญญาณตามลักษณะและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎ กระทรวง 6. ห้ามมิให้ผู้ขับขี่จอดรถ (1) บนทางเท้า (2) บนสะพานหรือในอุโมงค์ (3) ในทางร่วมทางแยกหรือในระยะสิบเมตรจากทางร่วมทางแยก (4) ในทางข้ามหรือในระยะสามเมตรจากทางข้าม (5) ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามจอดรถ (6) ในระยะสามเมตรจากท่อน้ำดับเพลิง (7) ในระยะสิบเมตรจากที่ตั้งสัญญาณจราจร (8) ในระยะสิบห้าเมตรจากทางรถไฟผ่าน (9) ซ้อนกันกับรถอื่นที่จอดอยู่ก่อนแล้ว (10) ตรงปากทางเข้าออกอาคารหรือทางเดินรถ หรือระยะห้าเมตรจาก ปากทางเดินรถ (11) ระหว่างเขตปลอดภัยกับขอบทาง หรือในระยะสิบเมตรนับจาก ปลายสุดทางเขตปลอดภัยทั้งสอง ข้าง (12) ในที่คับขัน (13) ในระยะสิบห้าเมตรก่อนถึงเครื่องหมายหยุดรถประจำทาง และเลย เครื่องหมายไปอีกสามเมตร (14) ในระยะสามเมตรจากตู้ไปรษณีย์ (15) ในลักษณะกีดขวางการจราจร 7. การจอดรถในทางเดินรถที่ผู้ขับขี่ไม่อาจควบคุมรถได้ ผู้ขับขี่ต้องหยุด ดับเครื่องยนต์และห้ามล้อรถไว้ 8. การจอดรถในทางเดินรถที่เป็นทางลาดหรือชัน ผู้ขับขี่ต้องหันล้อหน้า รถเข้าขอบทาง 9. เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจสั่งให้ผู้ขับขี่ เคลื่อนย้ายรถที่หยุดหรือที่จอดอยู่อันเป็นการฝ่าฝืนบทแห่ง พระราชบัญญัตินี้ ให้พ้นจากการกีดขวางการจราจรได้ 10. ในกรณีที่ผู้ขับขี่ไม่อยู่ หรืออยู่แต่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่ง ได้สั่ง ตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าพนักงานจราจร หรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเคลื่อนย้ายรถนั้นได้ 11. การหยุดรถหรือการจอดรถในทางเดินรถนอกเขตเทศบาล ผู้ขับขี่ ต้องหยุดรถหรือจอดรถ ณ ที่ซึ่งผู้ขับขี่รถอื่นจะเห็นได้ในระยะไม่น้อย กว่าหนึ่งร้อยห้าสิบเมตร 12. ในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ ที่ผู้ขับขี่จะมองเห็นรถที่จอดในทาง เดินรถได้โดยชัดแจ้งในระยะ ไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยห้าสิบเมตร ผู้ขับขี่ ซึ่งจอดรถในทางเดินรถหรือไหล่ทางต้องเปิดไฟหรือใช้ แสงสว่างตาม ประเภท ลักษณะ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง 13. ในทางเดินรถตอนใดที่มีทางรถไฟ ถ้าปรากฏว่า (1) มีเครื่องหมายหรือสัญญาณระวังรถไฟแสดงว่ารถไฟกำลังผ่าน (2) มีสิ่งปิดกั้นหรือเจ้าหน้าที่ให้สัญญาณ แสดงว่ารถไฟกำลังจะผ่าน (3) มีเสียงสัญญาณของรถไฟ หรือรถไฟกำลังแล่นผ่านเข้ามาใกล้ อาจเกิดอันตรายในเมื่อจะขับรถผ่านไป ผู้ขับขี่ต้องลดความเร็วของรถ และหยุดรถให้ห่างจากทางรถไฟไม่น้อยกว่า 5 เมตร เมื่อรถไฟผ่าน ไปแล้ว และมีเครื่องหมายหรือสัญญาณให้รถผ่านด้วย ผู้ขับขี่จึงจะขับรถ ผ่านไปได้ 14. ในทางเดินรถตอนใดที่มีรถไฟผ่าน ไม่ว่าจะมีเครื่องระวังรถไฟ หรือไม่ ถ้าทางรถไฟนั้นมีสัญญาณระหว่างรถไฟหรือสิ่งปิดกั้น ผู้ขับขี่ ต้องลดความเร็วของรถหยุดห่างจากทางรถไฟในระยะไม่น้อยกว่า 5 เมตร เมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงขับรถผ่านไปได้ 15. ในขณะที่ผู้ขับขี่รถโรงเรียนหยุดรถในทางเดินรถเพื่อรับส่งนักเรียน ขึ้นหรือลง ให้ผู้ขับขี่รถอื่นตามมาในทิศทางเดียวกันหรือสวนกันกับ รถโรงเรียน ใช้ความระมัดระวังและลดความเร็วของรถ เมื่อเห็นว่า ปลอดภัย จึงให้ขับรถผ่านไปได้

การถือศีลอด

รอมะฎอน (อาหรับ: رمضان‎) การสะกดอื่นๆ รอมดอน รอมาดอน รอมะดอน รอมฎอน คือเดือนที่ 9 ของปฏิทินฮิจญ์เราะหฺ หรือปฏิทินอิสลาม เป็นเดือนที่มุสลิมถือศีลอดทั้งเดือน ด้วยเหตุนี้จึงเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า เดือนบวช และถือว่าเป็นเดือนที่สำคัญที่สุดเดือนหนึ่ง มุสลิมจะต้องอดอาหารเพื่อที่จะได้มีความรู้สึกถึงคนที่ไม่ได้รับการดูแลจากสังคม เช่น คนยากจน เป็นต้น และเดือนนี้ยังเป็นเดือนที่อัลกรุอานได้ถูกประทานลงมาเป็นทางนำให้กับมนุษย์ มุสลิมจึงต้องอ่านอัลกุรอาน เพื่อศึกษาถึงสิ่งที่พระเจ้าต้องการให้มนุษย์รู้ว่าการเป็นอยู่ในโลกนี้และโลกหน้าจะเป้นอย่างไร และจะต้องทำตัวอย่างไรบ้าง กิจกรรมพิเศษของมุสลิมนิกายซุนนะหฺคือการละหมาดตะรอเวียะฮฺในยามค่ำของเดือนนี้ การถือศีลอดเป็นมุขบัญญัติ 1 ใน 5 ของอิสลาม หรือที่มุสลิมเรียกว่ารุก่นอิสลาม ศีลอด หรือที่เรียกว่า "การถือบวช" ตามการเรียกที่คนไทยนิยมเรียกกัน เป็นศีลคล้ายๆ ศีล 5 ของพี่น้องชาวพุทธ แต่ศีลของอิสลามนั้นไม่ปฏิบัติไม่ได้ มุสลิมทุกคนที่บรรลุศาสนภาวะแล้วจำเป็น (วายิบ) ต้องปฏิบัติศีลข้อนี้โดยเคร่งครัด ยกเว้นคนที่เจ็บไข้ได้ป่วย คนชรา หญิงมีครรภ์ เด็กที่ยังไม่บรรลุศาสนภาวะ คนเดินทาง เหล่านี้ยกเว้น การถือศีลอด นั้นก็หมายความว่า บังคับกับผู้ที่มีความสามารถเท่านั้น ในหนึ่งปีจะมีการถือศีลอดบังคับนี้เพียงหนึ่งเดือนคือเดือนรอมฎอน เดือนในอิสลามนับทางจันทรคติ ค่ำจึงมาก่อนวัน และเป็นไปตามข้อเท็จจริง กล่าวคือตะวันลับขอบฟ้าคือค่ำ ตรงกับวันอะไรก็เป็นค่ำคืนของวันนั้น หนึ่งเดือนจะมี 29 กับ 30 วัน ฉะนั้นการกำหนดเดือนจึงอาศัยการดูดวงจันทร์เป็นสำคัญ การเห็นจันทร์เสี้ยวแรกนั้นหมายถึงค่ำนั้นเป็นค่ำของวันใหม่และขึ้นเดือนใหม่ด้วย ปัจจุบันความรู้ทางดาราศาสตร์ก้าวหน้ามาก เราสามารถคำนวนการมีของจันทร์เสี้ยวได้อย่างแม่นยำ การดูจันทร์เสี้ยวจึงกำหนดองค์ศาและมุมได้อย่างชัดเจน เมื่อมีการคำนวนอายุของดวงจันทร์ กำหนดมุมและองค์ศาได้ การดูจึงไม่ยากอีกต่อไป การถือศีลอดเริ่มตั้งแต่รุ่งอรุณ (ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น) ไปจนถึงดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ตลอดช่วงกลางวัน ผู้ที่ถือศีลอดจะกินหรือดื่มสิ่งใดๆ ไม่ได้เลย ยกเว้นน้ำลาย จะเป็นน้ำสักหยดก็ไม่ได้ ฟังดูแล้วเป็นเรื่องยากมากๆ เพราะเราแค่อดข้าวมื้อเดียวก็ดูเหมือนจะไม่ไหวเสียแล้ว มีคำถามว่าทำไมมุสลิมอดได้ ถ้าจะตอบแบบไม่ต้องให้ถามต่อ ก็ตอบว่า "เพราะศรัทธา" มีมุสลิมไม่ถือศีลอดหรือไม่ ? ตอบว่า "มี" ถ้าไม่ถือศีลอดด้วยข้อยกเว้น ก็ไม่ใช่ปัญหา บางท่านก็อดไม่ได้ อาจจะด้วยศรัทธาหย่อนยาน เบาความนั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ถ้าท่านไม่ถือศีลอดด้วยเหตุใดก็ตาม ในช่วงเดือนรอมฎอน ศาสนาก็ไม่อนุญาตให้ท่านมาเดินกินดื่มโชว์ชาวบ้านเขา ถ้าเป็นประเทศที่ใช้กฎหมายอิสลาม คนนี้ถูกจับแน่ๆ อย่างเช่น ประเทศไทยถ้าใช้กฎหมายพุทธ คนดื่มเหล้าถูกจับแน่นอน สมมุติเบดูอินไปกินข้าวจนอิ่ม นึกขึ้นได้ว่า กำลังถือศีลอด อย่างนี้เสียหรือไม่ ก็ตอบว่าไม่เสีย แต่ต้องหยุดกินทันที การกระทำที่ไร้สติ หลงลืม ไม่มีเจตนา ไม่ถือเป็นความผิด แต่ไม่ใช่แกล้งลืม การถือศีลอด ไม่ได้หมายความว่า ไม่กิน ไม่ดื่มเท่านั้น แต่หมายถึงการงดเว้น ในอบายมุขทุกประเภท ถือศีลอดแต่นั่งนินทาชาวบ้าน อันนี้ผิดการถือศิลอดเขามีปัญหาแน่ ฉะนั้น การมีเพศสัมพันธ์ การลักขโมย ฯลฯ เป็นสิ่งต้องห้าม เป้าหมายของการถือศีลอดนั้น พระผู้เป็นเจ้า อัลเลาะฮ์ (ซ.บ.) ได้กล่าวไว้ในพระมหาคัมภีร์ว่า "เพื่อให้เกิดความยำเกรง" จึงสรุปได้ว่า หากมุสลิมไม่ถือศีลอด ด้วยกับไม่มีเหตุจำเป็น นั้นหมายความว่า มุสลิมคนนั้นไม่มีความยำเกรงต่อพระเจ้าเลย เดือนรอมฎอนเป็นเดือนที่พระมหาคัมภีร์ อัล-กุรอ่าน ได้ถูกประทานลงมาเป็นครั้งแรก ซึ่งคัมภีร์นี้มุสลิมถือว่าเป็นพระดำรัสของพระเจ้า (กาลามุลลอฮ์) มิใช่เป็นคำของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล.) และในค่ำคืนหนึ่งในเดือนรอมฎอนเป็นค่ำคืนแห่งเกียรติยศ (ลัยละตุลก็อดรฺ) ที่หากทำความดีตรงกับคืนนั้นจะมีความดีเท่ากับได้ทำเป็นพันเดือน (หรือประมาณ 80 ปีกว่า) การทำความดีอาสา (สุนัต) ได้ผลบุญเท่ากับทำความดีภาคบังคับ (ฟัรดู) ฉะนั้นเดือนนี้ศาสนาจึงสนับสนุนให้ทำความดี บริจาคทาน ช่วยเหลือคนยากจน ขัดสน เด็กกำพร้า หญิงหม้าย คนที่ด้อยกว่า นอกจากนี้การอ่านพระมหาคัมภีร์ ก็ยังเป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้ปฏิบัติ เราจึงเห็นมุสลิมโดยทั่วไปจะอ่านคัมภีร์ เรื่องการอ่านคัมภีร์นี้เป็นสิ่งที่จำเป็น คนมุสลิมแม้จะแปลคัมภีร์ไม่ได้แต่จะอ่านคัมภีร์ได้เป็นส่วนมาก เด็กๆทุกคนจะมีการเรียนการสอนในเรื่องนี้ที่เรียกว่าฟัดูอีนหรือตาดีกา ในภาคใต้ ฉะนั้นมุสลิมเกือบทุกคนจะอ่านพระคัมภีร์ได้ นี่คือความสำคัญของเดือนนี้ นี่คือคำตอบว่าทำไมมุสลิมจึงให้ความสำคัญกับเดือนนี้มาก ความจริงเมื่อถึงเดือนรอมฎอน มุสลิมทุกคนน่าจะหลีกหนี ไม่อยากให้เดือนนี้มาถึงเพราะต้องอด แต่ตรงกันข้ามมุสลิมทุกคนกลับรอคอยเดือนนี้ด้วยความยินดี จะสังเกตุว่าในชุมชนมุสลิมจะคึกคัก ค่ำคืนจะสว่างไสว ในมัสยิด (สุเหร่า) จะมีคนมาทำความดี (อิบาดะฮ์) กันอย่างมากมาย ดึกดื่น แต่ว่าวิถีชีวิตก็เป็นไปตามปกติ ใครทำงานอะไรก็ทำอย่างนั้น มิใช่ว่าพอถือศีลอดแล้ว นั่งงอมืองอเท้า ไม่ทำมาหากิน อย่างนี้ก็ถือว่าผิด การถือศีลอดได้ฝึกและสอนให้มีความอดทน มีเมตตา เห็นอกเห็นใจ คนยากจนหิวโหย ความหิวที่เกิดจากการถือศิลอดจะทำให้ระลึกถึงคนยากจนที่หิวโหย เมื่อก่อนที่เราอิ่มเราจะนึกถึงคนที่หิวไม่ได้ว่ามันทรมานอย่างไร แต่เมื่อเราได้อดอย่างนี้เราจะเข้าใจได้ทันทีว่า คนที่หิวนั้นทรมานเช่นไร ? ท่านศาสดากล่าวว่า "ท่านจงถือศีลอด แล้วท่านจะสุขภาพดี" มีแพทย์หลายท่านได้ทำการวิจัยในเรื่องนี้ ยอมรับว่าการที่ร่างกายได้หยุดพักแบบจริงๆ อย่างนี้ทำให้โรคบางอย่างหายไป ร่างกายได้มีโอกาสซ่อมแซม เฉกเช่นเครื่องยนต์ที่เดินเครื่องมาตลอดไม่เคยหยุดพักเลย ได้หยุดเสียบ้างก็จะดี การหยุดไม่กินไม่ดื่มเลยจริงๆ ทำให้กระเพราะอาหารได้พักผ่อน โรคบางโรคหายได้เช่นโรคกระเพาะอาหาร คนเรากินอาหาร 3 มื้อก็จริง แต่เอาเข้าจริงๆ แล้วกินตลอดวัน กระเพาะอาหารต้องทำงานตลอดเวลา เป็นต้นเหตุให้ร่างกายเกิดโรคสารพัด อย่างในปัจจุบัน การหยุดกินเสียบ้างก็จะทำให้ร่างกายได้พักผ่อน เมื่อสิ้นเดือนรอมะฎอนแล้ว จะมีการเฉลิมฉลองในวันที่ 1 เดือนเชาวาล เรียกว่า อีดุลฟิฏริหรือ วันอีดเล็ก ในปี พ.ศ.2549 เดือนรอมะฎอน (ฮ.ศ.1427) เริ่มเมื่อวันที่ 23 กันยายน (ซาอุดีอาระเบีย, อ่าวเปอร์เซีย และบางส่วนของในตะวันออกกลาง) และวันที่ 24 กันยายน ในที่อื่นๆ (รวมทั้งส่วนอื่นๆ ของตะวันออกกลาง) โดยมีกำหนดถึงวันที่ 23 ตุลาคม