วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การจำกัดความเร็วในเขตโรงเรียนของประเทศอังกฤษ

เขตชุมชนในอังกฤษเป็นเขตจำกัดความเร็ว ซึ่งส่วนใหญ่จำกัดไว้ที่ 30 ไมล์ หรือประมาณ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นระดับความเร็วที่เหมาะสมสำหรับการขับขี่ในชุมชน แต่จากข้อมูลของ North West Public Health Observatory สรุปว่าในเขตพื้นที่รับผิดชอบมีเด็กถูกรถชนเสียชีวิตปีละประมาณ 140 ราย เป็นเหตุเรียกร้องให้รัฐบาลอังกฤษและรัฐบาลท้องถิ่นกำหนดระดับความเร็วในชุมชนเสียใหม่เป็น 20 ไมล์ หรือประมาณ 32 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยใช้การเก็บข้อมูลที่ยืนยันว่า เด็กที่ถูกรถชนด้วยความเร็ว 20 ไมล์ สามารถหายได้เป็นปกติในขณะที่เด็กที่ถูกรถชนด้วยความเร็ว 30 ไมล์ต่อชั่วโมงส่วนใหญ่เสียชีวิต ซึ่งข้อเรียกร้องนี้ตรงตามข้อเสนอแนะขององค์การอนามัยโลกในปี 2008 และเชื่อว่าการกำหนดความเร็วไว้ที่ระดับดังกล่าว จะช่วยรักษาชีวิตเด็กได้เป็นจำนวนมากทั่วทั้งอังกฤษ ความไม่ปลอดภัยของการขับรถด้วยความเร็วสูง เนื่องจากยิ่งขับเร็วเท่าไรระยะทางที่หยุดรถจะยาวขึ้น เช่น ความเร็วที่ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะใช้ระยะทางหยุดรถประมาณ 36 เมตร ถ้าความเร็วที่ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะใช้ระยะทางหยุดรถประมาณ 53 เมตร และหาผิวถนนเปียกจะใช้ระยะทางยาวเพิ่มขึ้นไปอีก นอกจากนี้แล้ว ความเร็วยังสัมพันธ์กับความรุนแรงของการบาดเจ็บและเสียชีวิต ตัวอย่าง เช่น รถยนต์ชนคนเดินเท้าที่ความเร็ว 48 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คนถูกชนมีโอกาสเสียชีวิต 20% แต่หากชนด้วยความเร็ว 64 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีโอกาสเสียชีวิต 90% นักวิจัยสวีเดนได้เสนอการกำหนดความเร็วโดยใช้หลักการทางการแพทย์ คิดจากแรงปะทะที่มนุษย์สามารถทนได้ (ใช้ความเร็วเท่าไรที่เมื่อชนแล้วไม่เสียชีวิต) ควบคู่กับแนวคิดทางวิศวกรรมจราจร กำหนดให้พื้นที่ที่มีคนเดินเท้าหรือถนนที่มีรถแต่ไม่มีการป้องกันคนเดินเท้า ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 30 กม/ชม. กฎหมายควบคุมความเร็วของไทยใช้ 2 ฉบับคือ พระราชบัญญัติจราจรทางบก และ พระราชบัญญัติทางหลวง โดย พรบ.จราจรทางบก ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2551 ซึ่งเป็นฉบับล่าสุด กำหนดรถยนต์ทั่วไปใช้ความเร็วไม่เกิน 80 กม./ชั่วโมง นอกเขตเมือง 90 กม./ชม. และการใช้ความเร็วบนทางหลวง ตาม พรบ.ทางหลวง พ.ศ. 2535 รถยนต์ทั่วไปขับได้ไม่เกิน 90 กม./ชม. และทางหลวงพิเศษ (เช่น กาญจนาภิเษก วงแหวนรอบนอก) ไม่เกิน 120 กม/ชม. เป็นต้น แต่ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามป้ายและเครื่องหมายจราจร ที่กำหนดความเร็วไว้ในแต่ละพื้นที่เฉพาะอีกด้วย เช่น เขตโรงเรียน เขตชุมชน ทางแยก เป็นต้น จากสถิติของสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะบ่งชี้ว่าการขับรถเร็วเกินกำหนดเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุจราจร แต่ตำรวจเองบังคับใช้กฎหมายได้ยาก เทคโนโลยีที่ตำรวจใช้เพื่อการตรวจจับความเร็วปัจจุบัน เช่น การใช้กล้องตรวจจับความเร็ว (Speed Camara) ซึ่งสามารถเรียกหยุดและลงโทษผู้กระทำผิดได้ทันที ลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุได้ แต่ด้วยวิธีนี้ต้องใช้กำลังเจ้าหน้าที่สูง งบประมาณที่ใช้จำนวนมาก นอกจากนี้ อาจใช้กล้องตรวจจับความเร็วอัตโนมัติ ซึ่งส่งข้อมูลการกระทำผิด ไปยังศูนย์และสามารถส่งหมายเรียกทางไปรษณีย์ไปโดยตรงถึงเจ้าของรถ/ผู้กระทำผิดได้ แต่ผู้กระทำผิดมักอ้างข้อสงสัยเรื่องมาตรฐานของเครื่องมือตรวจวัดความเร็วที่ใช้อยู่ นอกจากนี้แล้ว ค่าปรับที่เป็นจำนวนน้อยมาก (200-500 บาท ไม่เกิน 1,000 บาท) ไม่เพียงพอที่จะหยุดการกระทำผิด อังกฤษเชื่อว่าต้องสร้างให้เกิดความรับผิดชอบร่วมกันในการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรและร่วมป้องกันรักษาชีวิตเด็กในชุมชน ประเทศไทยก็ต้องทำเช่นกัน ข้อมูล www.bbc.co.uk/news/health-12481423 www.tarc.ait.ac.th www.roadsafetythai.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น